ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน 1.บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันปาล์ม จำกัด มีจุดรับซื้อดังนี้ 1.1. อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี โทร.038-211688 1.2. อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 1.3. อ.นายายอาม จ.จันทบุรี โทร.089-9366903 1.4. อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี 1.5. อ.คลองหาด จ.สระแก้ว โทร.081-8637406 1.6. อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี โทร.081-8540389 1.7. อ.หนองแค จ.สระบุรี โทร.089-9226456 1.8. อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โทร.087-1529547 2. กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น จำกัด มีจุดรับซื้อดังนี้ 2.1. อ.เขาสมิง จ.ตราด โทร.081-8650839 2.2. อ.บ่อไร่ จ.ตราด โทร.086-1134327 2.3. อ.มะขาม จ.จันทบุรี โทร.081-7232136 2.4. อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร.081-8026158 2.5. อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โทร.081-8026158 2.6. อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โทร.081-8782975 2.7. อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร โทร.081-8444420 2.8. อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โทร.083-5083873 2.9. อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี 3. โรงงานอำนาจเจริญปาล์มน้ำมัน โทร.045-465372,089-8329554มีจุดรับซื้อดังนี้ 3.1. อ.เซกา จ.บึงกาฬ 3.2. อ.นาหว้า จ.นครพนม 3.3. อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย 3.4. อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 3.5. อ.เอราวัณ จ.เลย
จุดรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ 1. จังหวัดพัทลุง มีจุดรับซื้อดังนี้ 1.1 อ.ตะโหมด เอ็น พี แม่ขรี 1.2 อ.ป่าบอน เจิมเพชรรุ่งเรืองกิจ 1.3 อ.ป่าบอน โรงเลื่อยห้วยทราย 1.4 อ.เขาชัยสน ปวีร์ลานปาล์ม 1.5 อ.เขาชัยสน ลานเทปวีลานปาล์ม 1.6 อ.เขาชัยสน ลานเทเลิศชาย 1.7 อ.เขาชัยสน จันทรโชติลานปาล์ม 1.8 อ.เมือง หจก.ปาล์มเทคนิค (สาขา 3) 1.9 อ.ควนขนุน บุตรบุญนิชลานเท 1.10 อ.ควนขนุน สหกรณ์ปาล์มน้ำมันพัทลุง 1.11 อ.ควนขนุน หจก.ปาล์มเทคนิค (สาขา 2) 1.12 อ.ควรขนุน ลานเทบุตรบุญนิช 1.13 อ.ควนขนุน บุตรบุญนิชลานเท 1.14 อ.ควนขนุน สหกรณ์ปาล์มน้ำมันพัทลุง 1.15 อ.ป่าพยอม ลานเทอรอนงค์ 2. จังหวัดตรัง มีจุดรับซื้อดังนี้ 2.1 อ.เมืองตรัง บริษัท ตรังสหปาล์มออยล์ จำกัด 2.2 อ.เมืองตรัง ลานเทนพรัตน์ 2 2.3 อ.ห้วยยอด สหกรณ์การเกษตรห้วยยอดจำกัด 2.4 อ.ห้วยยอด นายวิชัย แซ่ตัน 2.5 อ.ห้วยยอด ลานเทบางกุ้ง 2.6 อ.หาดสำราญ ลานเทปาล์มหาดสำราญ 2.7 อ.ย่านตาขาว ลานเทปาล์มทุ่งค่าย 2.8 อ.ปะเหลียน บริษัท ลานเทแหลมทอง จำกัด 2.9 อ.ปะเหลียน บริษัท ลานเททุ่งยาว จำกัด 2.10 อ.ปะเหลียน กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนลิพัง 2.11 อ.ปะเหลียน สหกรณ์การเกษตรปะเหลียน จำกัด 2.12 อ.ปะเหลียน ลานเทท่าพญา 2.13 อ.ปะเหลียน นายรุ่งศักดิ์ ประกอบกิจ 2.14 อ.ปะเหลียน ลานปาล์มบ้านนาทุ่ง 2.15 อ.ปะเหลียน ลานเทสุโสะ 2.16 อ.วังวิเศษ บริษัท วังวิเศษปาล์ม จำกัด 2.17 อ.วังวิเศษ บริษัท ช.ณรงค์ปาล์ม จำกัด 2.18 อ.วังวิเศษ สหกรณ์กองทุนยางบ้านไชยภักดี จำกัด 2.19 อ.วังวิเศษ สหกรณ์การเกษตรวังวิเศษ จำกัด 2.20 อ.วังวิเศษ อ่าวตงปาล์ม 2.21 อ.วังวิเศษ โชคทรัพย์พาณิชย์ 2.22 อ.วังวิเศษ สำราญปาล์ม 2.23 อ.วังวิเศษ ลานเทปาล์มครูสวัสดิ์ 2.24 อ.กันตัง ลานเทบางสักปาล์ม 2.25 อ.สิเกา บริษัท ลานเทบางสัก จำกัด 2.26 อ.สิเกา สหกรณ์การเกษตรสิเกา จำกัด 2.27 อ.สิเกา สหกรณ์ปาล์มน้ำมันตรัง จำกัด 2.28 อ.สิเกา ลานเทนพรัตน์ 1 2.29 อ.สิเกา ลานเทเขาไม้แก้ว 2.30 อ.สิเกา ประเสริฐปาล์ม 2.31 อ.สิเกา อภิยมลานเกษตร 3. จังหวัดสงขลา มีจุดรับซื้อดังนี้ 3.1 อ.สะเดา ลานเทปาล์มโกนัย (คุณวินัย มณีรัตนสุวรรณ) 3.2 อ.เทพา คุณสมคิด กิจคอน 3.3 อ.เทพา คุณเปรม แก้วรุ่งเรือง 3.4 อ.หาดใหญ่ คุณพรชนก มีศรี 3.5 อ.ระโนด โชคเอกชัย 3.6 อ.กระแสสินธุ์ สหกรณ์การเกษตรกระแสสินธ์ 3.7 อ.รัตภูมิ KR แก้วรัตน์ ลานเท 3.8 อ.รัตภูมิ ลานเทเด่นชัย 4. จังหวัดสตูล มีจุดรับซื้อดังนี้ 4.1 อ.ควนกาหลง สหกรณ์การเกษตรควนกาหลง จำกัด 4.2 อ.ควนกาหลง สหกรณ์การเกษตรควนกาหลง จำกัด 4.3 อ.ควนกาหลง ควนกาหลงปาล์ม 4.4 อ.ควนกาหลง กลุ่มออมทรัพย์ควนกาหลง 4.5 อ.ควนกาหลง เขาไครการค้า 4.6 อ.ควนกาหลง ศุภรัตน์ลานเท 4.7 อ.ควนกาหลง ลานเทนายดลมาน ขาวเขาไคร 4.8 อ.ควนกาหลง ลานเทนายวิเชียน บัวงาม 4.9 อ.มะนัง ลานเทนายอนัน มณีรัตนสุบรรณ 4.10 อ.มะนัง ลานเทนายวินัย มณีรัตนสุบรรณ 4.11 อ.มะนัง ลานเทนายประวิทย์ เพชรรัตน์ 4.12 อ.มะนัง ลานเทนายรอเฉด มหาชัย 4.13 อ.มะนัง ลานเทนายดลเลาะห์ สามารถ 4.14 อ.มะนัง ลานเทนางฟาตีม๊ะ มหาชัย 4.15 อ.มะนัง ลานเทนางเจ๊ะฟารีดา เจ๊ะแม 4.16 อ.มะนัง ลานเทนายพิเชษฐ์ อุทัยรังสี 4.17 อ.มะนัง ทวีศักดิ์ลานเท 5. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจุดรับซื้อดังนี้ 5.1 อ.เมือง ส.อุปการดี (หลังวัดหนองนก) 5.2 อ.เมือง รุ่งโรจน์ลานปาล์ม 5.3 อ.ปากพะนัง ลานเทต้นปาล์ม (บ้านทวดลุง) 5.4 อ.ร่อนพิบูลย์ ลานเทนางเพชรรัตน์ ทองทิพย์ปาล์ม 5.5 อ.ร่อนพิบูลย์ ลานปาล์มน้องกุ้ง 5.6 อ.ร่อนพิบูลย์ นางสมจิต จันทร์จีน (เดชาการปาล์ม) 5.7 อ.ร่อนพิบูลย์ นายอดิศักดิ์ สงคง(ป่าแชงปาล์ม) 5.8 อ.ทุ่งสง สหกรณ์นิคมทุ่งสง จำกัด (หลัง อบต.เขาขาว) 5.9 อ.ทุ่งใหญ่ นายประทีป รักษ์ศรีทอง(ศรีทองพืช) 5.10 อ.ทุ่งใหญ่ ลานปาล์มบ้านราชเวช(สหกรณ์) 5.11 อ.ทุ่งใหญ่ นายชูสิน ชุมบัวจันทร์(สินเจริญปาล์ม) 5.12 อ.ทุ่งใหญ่ นายโกสินทร์ แก้วคง(ทุ่งกรวดปาล์ม) 5.13 อ.บางขัน ลานเทนายสุวัตร กุลวิทย์ 5.14 อ.บางขัน นายสมหมาย สุดถนอม (ครูน้อยปาล์ม) 5.15 อ.บางขัน ชูศรีปาล์มทอง 5.16 อ.บางขัน ปาล์มน้ำมันธรรมชาติ บจ.(สาขาเคียมงาม) 5.17 อ.เฉลิมพระเกียรติ ลานเทเจ๊กานต์ 5.18 อ.เฉลิมพระเกียรติ นายสุภาพ สิทธิอำนวย (สองพี่น้องลานปาล์ม) 5.19 อ.เฉลิมพระเกียรติ น้องภู 5.20 อ.เฉลิมพระเกียรติ นายเจริญ ขุนบุญจันทร์ (ทรัพย์เจริญปาล์ม) 5.21 อ.เชียรใหญ่ สหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จำกัด 5.22 อ.เชียรใหญ่ นายศุภชัย เจียะรัตน์ (อีการเกษตร) 5.23 อ.ชะอวด หจก.ปาล์มเทคนิค 5.24 อ.สิชล รวมก่อกิจลานปาล์ม 5.25 อ.สิชล นายโสภณ คุระเอียด (โสภณพืชไร่) 5.26 อ.สิชล นายระยอง สงดำ (ทุ่งหัวนาปาล์ม) 5.27 อ.สิชล สามพี่น้องปาล์มทอง 5.28 อ.สิชล นายพิมล ดวงมุสิก (ร้านพงศมล) 5.29 อ.สิชล กลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอำเภอสิชล 5.30 อ.สิชล นายโสภณ คุระเอียด (โสภณพืชไร่) 5.31 อ.สิชล นายวีระทูร สมเขาใหญ่ (พงศมลปาล์ม) 5.32 อ.สิชล นายพิมล ดวงมุสิก (พงศมลลานปาล์ม) 5.33 อ.สิชล ลานสระกูดปาล์มทอง (เข้าทางข้างวัดขรัวช่วย) 5.34 อ.สิชล สี่พี่น้องปาล์ม 5.35 อ.สิชล ลานปาล์มดอนม่วง 5.36 อ.ขนอม นายสงบ ขันแข็ง (ส.การเกษตรขนอม) 5.37 อ.ขนอม นางประทินพรรณ งามโฉม (ขนอมปาล์ม) 5.38 อ.ขนอม นายสงบ ขันแข็ง (ส.การเกษตรขนอม) 5.39 อ.ขนอม สามพี่น้องปาล์มทอง 5.40 อ.หัวไทร นายฉะอ้อน ภัทราวดี
ศัตรูปาล์มน้ำมันมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งส่งผลเสียต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันควรทราบถึงเรื่องนี้ เพื่อที่จะสามารถป้องกัน หรือกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง อาร์ดี เกษตรพัฒนา จึงนำข้อมูลควรรู้เรื่องนี้มาให้ศึกษากันครับ
ด้วงกุหลาบ
cr.photo: invasive.org
เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก สีน้ำตาล ตัวเต็มวัย กัดทำลายใบ ในอายุแรกปลูก - 1 ปี หากระบาดรุนแรง ทางใบจะถูกทำลายจนหมดเหลือแต่ก้านใบ
ทำให้ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต (ระบาดในช่วงแล้ง ก.พ.- เม.ย.)
ลักษณะการทำลาย : กัดเจาะใบ
วิธีป้องกัน : ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เซฟวิน 85%, พอสซ์ 20% ปริมาณการผสมตามข้างบรรจุภัณฑ์ ฉีดบริเวณใบและโคนต้น
ช่วงเย็น-ค่ำ ทุก7-10 วัน หรือใช้มาแชล 5G หยอดกาบใบล่าง 1 ชต./ต้น
ด้วงแรด
มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ
ลักษณะการทำลาย : เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช กัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบเป็นรู, หัก และยังกัดทำลายยอดอ่อน หากระบาดรุนแรง ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกกัด อาจทำให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ หรือเป็นรูที่ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ได้
วิธีป้องกัน : คาร์โบซัลแฟน หรือคลอไพริฟอส ปริมาณการผสมตามที่ระบุข้างบรรจุภัณฑ์ ราดบริเวณรอบยอดอ่อน
cr.wikipedia
ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง
จัดว่าเป็นด้วงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลออกดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มม. ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 ม. ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง
ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะกัดกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ และอาจซ้ำกินบริเวณที่ด้วงแรดทำลาย
หนอนหัวดำมะพร้าว
หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูต่างถิ่นที่ระบาดเข้ามาในไทย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาว 1-1.2 เซนติเมตร ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบน ชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบ ตัวหนอนที่ฟักใหม่ๆ จะมีหัวสีดำ ลำตัวสีเหลือง สีของส่วนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น
ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนและมีลายสีน้ำตาลเข้มพาดยาวตามลำตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาว 2–2.5 ซม. การเจริญเติบโตของหนอนหัวดำมะพร้าวพบว่าลอกคราบ 6-10 ครั้ง ระยะหนอน 32-48 วัน ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวเพศเมียสามารถวางไข่ตั้งแต่ 49-490 ฟอง
หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น ตัวหนอนจะแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นจะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำชอบทำลายใบแก่
ผีเสื้อที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบปาล์ม จึงมักจะพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบปาล์มใบเดียวกัน
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบแก่ ทำให้ใบแห้งและมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นปาล์มตายได้
วิธีป้องกัน : พ่นด้วย BT 40-80 กรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน
cr.photo: nbair.res.in
เพลี้ยหอย
เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย
ลักษณะการทำลาย : ดูดน้ำเลี้ยงจากผล
วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย เซฟวิน 85% (Sevin85) ฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ หรือใช้ไซเปอร์เมทริน
Cr. Photo: thoughtco.com
Cr. Photo: invasive.org
เพลี้ยแป้ง
ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกับเพลี้ยหอย
วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยไทอะมีโทแซม (Thiamethoxam) ร่วมกับไวท์ออยล์ (White Oil)
Cr. Photo: agrinfobank.com
Cr. Photo: entnemdept.ufl.edu
หนอนปลอก
เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบ
วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือ ฉีดพ่นด้วยเชื้อบีทีชนิดผง 20-30 กรัม /น้ำ 15 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ2ครั้ง/สัปดาห์ *กรณีระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยเชฟวิน 85 % อัตราส่วน 25-40กรัม/น้ำ20ลิตร พ่น1-2 ครั้ง
หนอนหน้าแมว
เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะใบ
วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
Cr. Photo: pestnet.org
แมลงดำหนามมะพร้าว
พบการระบาดในประเทศในขณะนี้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยคือ พลีสิสป้า ริชเชอราย (Plesispa reicheri) ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างและการทำลายแตกต่างกัน แมลงดำหนามต่างถิ่นมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนอกด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงทำลายต้นมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ แต่แมลงดำหนามท้องถิ่น มีลำตัวสั้นและป้อมกว่า ส่วนอกด้านบนเป็นรูประฆังคว่ำ ชอบลงทำลายมะพร้าวต้นเล็ก จึงไม่เกิดการระบาดที่รุนแรง
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะยอดอ่อน
วิธีป้องกัน : ฉีดพ่นเชื้อราขาว ปล่อยแมลงหางหนีบ หรือมัมมี่แตนเบียน
Cr.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร
มวนพิฆาตหรือตัวห้ำ
Cr:ฝ่ายส่งเสริมเกษตร บริษัท ไบโอ-อะกริ จำกัด
มวนพิฆาตเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติพวกแมลงห้ำ มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายศัตรูพืชได้หลายชนิด
โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อต่างๆ ตลอดชีวิตของมวนพิฆาต สามารถทำลายหนอนศัตรูพืชได้ประมาณ 214-258 ตัว
เฉลี่ย 6 ตัว/วัน มวนพิฆาตมีปากคล้ายเข็ม เมื่อพบเหยือจะจู่โจมเหยื่อแทงเข้าไปในตัวหนอน
แล้วปล่อยสารพิษ ทำให้ศัตรูเป็นอัมพาต จากนั้นจึงจะดูดกินของเหลว จนศัตรูแห้งตาย
ลักษณะการทำลาย : มวนพิฆาตไม่สร้างความเสียหายให้กับต้นปาล์มน้ำมัน แต่ยังส่งผลดีในการช่วยกำจัดหนอนหน้าแมว
วิธีป้องกัน : -
หนู
ลักษณะการทำลาย :
หนูจะทำความเสียหายปาล์มน้ำมัน 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (อายุ เริ่มปลูก-4 ปี) สภาพพื้นที่ในสวนปาล์มมักนิยมปลูกพืชคลุมดิน หรือไม่ก็มีวัชพืชขึ้นรกรุงรังแทนที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการเป็นที่หลบอาศัยของหนูชนิดต่างๆ โดยหนูจะเข้ามากัดทำลายโคนต้นอ่อน ยอดต้นอ่อนและทางใบปาล์มส่วนที่อยุ่ติดกับพื้นดิน หากร่องรอยการทำลายมีมาก โดยเฉพาะที่โคนต้นอ่อนจะทำให้ต้นปาล์มแห้งตายในที่สุด
ระยะที่ 2 (อายุ 5-25 ปี) หนูจะเป็นปัญหามากที่สุด โดยจะกินทั้งผลปาล์มดิบและสุกเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ช่อดอกเกสรตัวผู้ของปาล์มยังเป็นแหล่งอาศัยของตัวอ่อนของด้วงผสมเกสรในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นอาหารของหนูอีกชนิดหนึ่งด้วย ด้วยเหตุนี้เราอาจใช้ร่องรอยการทำลายของหนูบนช่อดอกเกสรตัวผู้ที่บานและแห้งแล้ว เป็นตัวชี้ว่าสวนปาล์มนั้นมีจำนวนประชากรหนูอยู่มากหรือน้อยโดยคร่าวๆได้
ชนิดของหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง พบมากในสวนปาล์มน้ำมันที่อายุไม่เกิน 4 ปี โดยเฉพาะที่มีป่าหญ้าคาและหญ้าขนขึ้นในพื้นที่ หนูชนิดนี้มีขนาดใหญ่ มีแผงขนบริเวณหลังและท้องสีเทาเข้ม นิสัยดุร้าย ไม่ชอบปีนป่ายต้นไม้ แต่จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น
2. หนูฟันขาวใหญ่ พบในสวนปาล์มน้ำมันที่อยู่ริมคูน้ำระหว่างเนินเขาและติดชายป่า หนูชนิดนี้มีขนาดใกล้เคียงกับหนูพุกใหญ่ หนูฟันขาวใหญ่จะไม่มีแผงขนที่หลัง ขนที่ท้องสีครีม และนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย นิยมทำลายต้นปาล์มอ่อน จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น
3. หนูฟานเหลือง พบในสภาพป่าทุกประเภท และพบเพียงเล็กน้อยในสวนปาล์มที่มีอายุ 5 ปี บมากใน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล หนูฟานเหลืองเป็นหนูขนาดกลาง หน้าขาวด้านหลังสีเหลืองส้มปนขนสีดำประปราย ท้องสีขาวครีมล้วนๆ หางมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีขาวปลายหางยาว อุปนิสัยเชื่องช้า ไม่ดุร้าย อาหารคือ รากไม้ ผลไม้ แมลง หอย พ
4. หนูนาใหญ่ เป็นศัตรูที่สำคัญในสวนปาล์มที่อายุระหว่าง 4-7 ปี พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ชอบอาศัยในดงหญ้ารก ใกล้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ชอบขุดรูบนพื้นดินที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม รังหนูอยู่ลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 0.5 เมตร หนูจะอพยพหนีน้ำไปหาแหล่งอาศัยที่น้ำท่วมไม่ถึง เช่น มันจะทำรังในดงหญ้าโดยหักใบหญ้ามาสุมทำรังเหนือระดับน้ำ
5. หนูท้องขาว เป็นชนิดพบมากที่สุดในสวนปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะเมื่อปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ (อายุ 6 ปีขึ้นไป) เช่นที่ จังหวัดสตูล กระบี่ สุราษฎร์ธานีและชุมพร หนูชนิดนี้มีหลายชนิดและความแตกต่างกันมาก สามารถจำแนกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้
เมื่อใดควรปราบหนู
สามารถนำข้อมูลมาประเมินได้ 4 วิธี ดังนี้
วิธีป้องกันกำจัดหนู
1. การล้อมตี วิธีนี้ต้องใช้จำนวนคนค่อนข้างมาก โดยการยกทางใบที่กองอยู่ระหว่างต้นปาล์มออก เนื่องจากใต้กองทางใบปาล์มเป็นแหล่งที่อยู่และขยายพันธุ์ของหนู หรือจะใช้รถไถที่สามารถตีทางใบปาล์มแห้งให้ละเอียด แล้วให้คนคอยดักตีหนูที่วิ่งออกมา หรือใช้ไม้ไผ่ยาวๆ แทงตามซอกทางใบและซอกทะลายปาล์มบนต้น เพื่อไล่หนูที่หลบซ่อนอยู่ให้ตกลงพื้นดินแล้วใช้คนไล่ตี วิธีการนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงในช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าจะให้ผลดีก็ต้องกระทำบ่อยๆ ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สิ้นเปลืองแรงงานและเวลามาก และไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรหนูได้ในระยะยาว
2. การดัก การดักโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น กรงดัก กับดัก หรือเครื่องมือดักที่สามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่หาได้ง่าย ส่วนมากจะใช้ได้ผลดีในเนื้อที่จำกัด และไม่กว้างขวางนักหรือเป็นวิธีเสริมหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดหนูแล้ว เช่น ในแปลงเพาะปลูกขนาดเล็กที่ปริมาณของหนูศัตรูปาล์มไม่มาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เหยื่อดัก การเลือกเหยื่อชนิดใดควรคำนึงว่าสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดนั้นมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ราคาเหยื่อต้องไม่แพงจนเกินไป
ตำแหน่งที่วางกรงหรือกับดักหนู คือตามร่องรอยทางเดินหากินของมันบนพื้นดิน ข้างกองทางใบ หรือโคนต้นจะสะดวกและปลอดภัยกว่าการวางบนต้นที่ทะลาย เพราะบ่อยครั้งที่พบงูเห่าขึ้นไปนอนคอยกินหนูบนยอดปาล์ม
3. การเขตกรรม เช่น การหมั่นถางหญ้าบริเวณรอบโคนต้นปาล์มโดยห่างโคนต้นประมาณ 1-1.5 เมตร อย่าให้มีหญ้าขึ้นรก หรือทำลายทางใบปาล์มที่กองไว้ หนูก็จะไม่มีที่หลบซ่อน ทำให้ง่ายต่อการกำจัดโดยวิธีอื่นๆ
4. การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า งูทางมะพร้าว พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก นกฮูก สัตว์เหล่านี้ช่วยกำจัดหนูโดยกินเป็นอาหาร จำเป็นต้องสงวนปริมาณไว้ให้สมดุลกับธรรมชาติ เพื่อคอยควบคุมประชากรหนูไว้ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะถ้าทำลายสัตว์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้หมดไป จะเป็นเหตุให้หนูขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายให้แก่ปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก
พื้นที่สวนปาล์มใดถ้ามีศัตรูธรรมชาติ เช่น นกแสก นกฮูก เหยี่ยว หรือนกเค้าแมวมาก ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์เร็ว เพราะจะเป็นอันตรายต่อนกเหล่านี้ที่กินหนูตัวที่ได้กินเหยื่อพิษชนิดนี้มาก โดยปกติเกษตรกรที่จะกำจัดหนูโดยใช้ศัตรูธรรมชาติและสารกำจัดหนูเข้าช่วย สารกำจัดหนูที่ใช้ควรเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ช้าจะปลอดภัยต่อนกศัตรูธรรมชาติของหนูมากกว่า
เป็นวิธีการที่ลดจำนวนประชากรของหนูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถลดปริมาณได้ในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังทำได้ในบริเวณกว้าง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย
สารกำจัดหนูที่ได้ทำการทดสอบในสวนปาล์มน้ำมันแล้วและได้ผลดีมาก เป็นสารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าชนิดสำเร็จรูปที่หนูกินครั้งเดียวตาย
แต่หนูจะตายหลังกินเหยื่อพิษไปแล้ว 2-10 วัน และมักจะตายในรูหรือรังหนู จึงมักไม่พบซากหนูตาย สารกำจัดหนูุนี้ จะเป็นชนิดชนิดก้อนขี้ผึ้งก้อนละประมาณ 5 กรัม ได้แก่ โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) และโบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%)
ขั้นตอนการวางเหยื่อพิษมีดังนี้
1. นำเหยื่อพิษวางในจุดต่างๆ ได้แก่ โบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%) โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) ชนิดใดชนิดหนึ่ง วางที่โคนต้นปาล์มต้นละ 1 ก้อน ในขณะที่วางเหยื่อพิษ ควรจะวางให้ชิดกับโคนต้นและตรงข้ามกับทางน้ำไหลของน้ำฝน เนื่องจากภาคใต้มีปริมาณฝนมาก อาจจะพัดพาเหยื่อพิษไปได้
3. ทุก 7-10 วัน ตรวจนับจำนวนเหยื่อพิษที่ถูกหนูกินไป และเติมเหยื่อทดแทนก้อนที่ถูกกินไป ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าเปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อจะลดลงต่ำลง จากการทดลองพบว่า เมื่อวางเหยื่อพิษแล้ว 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 10 วัน เปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อพิษจะลดลงต่ำกว่า 20% จึงหยุดวางเหยื่อพิษ
4. ภายหลังการวางเหยื่อครั้งสุดท้ายผ่านไปแล้ว 6 เดือน ควรตรวจนับเปอร์เซ็นต์ร่องรอยการทำลายใหม่อีก หากพบว่าเกิน 5% ก็ควรเริ่มการกำจัดหนูวิธีการเช่นเดิมอีก
สรุป
การป้องกันกำจัดหนูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในประเทศไทยมีจำนวนหลายแสนไร่ ได้ความเสียหายที่เกิดจากหนู นับเป็นมูลค่าะนับพันล้านบาทต่อปี ดังนั้นถ้ามีการป้องกัน กำจัด จะให้ผลคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการลงทุน
ข้อมูลจาก http://www.thaikasetsart.com
เทคนิคการป้องกันต้นกล้าปาล์มจากบรรดาศัตรูของต้นกล้ากันนะคะ ซึ่งก็คือ การหุ้มตาข่าย ป้องกันหนู ??
วิธีการป้องกันกำจัดหนู ในสวนปาล์ม
1. ใช้กรงดักหนู ในบริเวณที่เห็นร่องรอยการอาศัยอยู่ของหนู วิธีนี้เกษตรกรต้องซื้อกรงดักหนูเป็นจำนวนมาก
เพื่อดักหนูและลดประชากรของหนู วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันการกัดกินของหนูได้
เพราะหนูขายพันธุ์ได้เร็ว ใน 1 ปีหนู 1 คู่สามารถขายพันธุ์ได้มากกว่า 1,000 ตัว
2. ตระแกรงป้องกันหนู วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่มีลูกค้าหลายรายยังใช้ไม่ถูกต้องจึงไม่สามารถกันได้ 100%
เนื่องจากวิธีการใช้เอาไปใช้พันรอบต้นปาล์มแล้ว ไม่ปิดปากและฝังตระแกรงลงไปในดินด้วยบางส่วน
จึงทำให้หนูมุดเข้าไปกัดกินได้ต้องไม่ลืมบีบปากตระแกรง และฝังตระแกรงลงไปในดินส่วนหนึ่งด้วย
การใช้ตระแกรงต้องทำไปพร้อมกับการปลูกครั้งแรกเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น กล่าวคือ มีฝนตกชุก มีแสงแดดมาก ไม่มีสภาพอากาศหนาว ซึ่งสภาวะอากาศดังกล่าว ได้แก่ บริเวณเส้นศูนย์สูตร พบว่าปาล์มน้ำมันมีการกระจายอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ ถึง เส้นรุ้งที่ 15 องศาใต้ โดย 90% ของประเทศที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันจะอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 องศาเหนือและใต้
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน มี 4 ปัจจัย คือ
ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน :
ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากน้ำมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร โดยปกติปาล์มน้ำมันที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีการคายน้ำ 5-6 มม./วัน หากมีการขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตอีก 19-22 เดือนข้างหน้าลดลง ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน ควรจะอยู่ระหว่าง 2,000-3,000 มม./ปี และมีการกระจายของฝนดีในแต่ละเดือน โดยจะต้องมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม./เดือน การกระจายของน้ำฝนจะมีความสำคัญมากโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งดินดังกล่าวจะมีการเก็บความชื้นได้น้อยจึงทำให้มีโอกาสขาดน้ำได้ง่าย ดังนั้นการใช้วัชพืชคลุมดิน ก็จะเป็นอีกวิธีที่จะช่วยรักษาความชื้นไว้ในดินได้
พื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,200 มม./ปี ปริมาณน้ำฝนจะไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์ม ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวจะให้ผลผลิตลดลง ในการรักษาระดับของผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนน้อย อาจทำได้โดยการติดตั้งระบบน้ำซึ่งจะช่วยรักษาระดับการให้ผลผลิตของปาล์มในช่วงฤดูแล้งได้ แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกมากเกินไป (มากกว่า 3,000 มม./ปี) ก็ไม่เหมาะกับปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะได้รับแสงแดดน้อยลง มีการท่วมขังของน้ำในที่ลุ่ม นอกจากนั้นจะมีการระบาดของโรคได้ง่ายกว่าปกติ จากการศึกษาการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝน/ปี แตกต่างกัน พบว่าปริมาณฝนที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันไม่ควรมีเดือนที่ขาดน้ำ (เดือนที่ขาดน้ำ ได้แก่ เดือนที่มีน้ำฝนน้อยกว่า 100 มม./เดือน) หากมีการขาดน้ำมากกว่า 4 เดือน (มีช่วงฤดูแล้งที่ยาวนาน) พื้นที่ดังกล่าวจะไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน แต่สามารถแก้ไขได้โดยมีการตั้งระบบน้ำให้กับปาล์มน้ำมัน หากมีสภาพการขาดน้ำในรอบปีมาก จะทำให้จำนวนทะลาย น้ำหนักทะลาย และเปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง
ปริมาณแสงแดด :
ปริมาณแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญรองจากปริมาณน้ำฝน โดยปกติปาล์มน้ำมันจะต้องได้รับแสงแดดมากกว่า 5 ชั่วโมง/วัน (ได้รับพลังงานแสงไม่น้อยกว่า 17 MJ/ตารางเมตร/วัน) เนื่องจากแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืชทุกชนิด หากปาล์มน้ำมันได้รับปริมาณแสงน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง การสร้างดอกตัวเมียน้อยลงซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง นอกจากนั้นยังทำให้สัดส่วนของผลต่อทะลายลดลงซึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณน้ำมันลดลงอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยปริมาณของแสงเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน ปัจจัยของแสงจะมีปัญหากับปาล์มน้ำมันเมื่อปลูกปาล์มไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกในระยะที่ชิดจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้นทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับระยะปลูกและการตัดแต่งทางใบ เพื่อให้ปาล์มมีจำนวนใบและมีพื้นที่ใบที่จะรับแสงได้เหมาะสมตลอดอายุของการเจริญเติบโตของปาล์ม พบว่าช่วงแรกของการเจริญเติบโต การตัดแต่งทางใบไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก แต่เมื่อปาล์มน้ำมันโตมากขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งทางใบมากขึ้น เพื่อทำให้มีพื้นที่ใบรับแสงแดดได้อย่างเพียงพอ ในสภาพที่ปาล์มน้ำมันถูกบังแสง จะทำให้สร้างอาหารได้น้อยลง และทำให้มีการสร้างดอกตัวเมียน้อยลง มีการศึกษาพบว่าช่วงเดือนที่มีกลางวันสั้น จะมีผลทำให้สัดส่วนเพศของปาล์มน้ำมันลดลง
อุณหภูมิ :
อุณหภูมิ มีผลต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันควรอยู่ช่วง 22-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิปกติของเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบกับปาล์มน้ำมันน้อยกว่าอุณหภูมิที่ต่ำ ในสภาพอุณหภูมิที่สูงจะมีผลกับการคายน้ำของปาล์มน้ำมันซึ่งจะทำให้ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ แต่ในสภาพอุณหภูมิต่ำปาล์มน้ำมันจะมีพัฒนาของใบช้าลง มีการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของกล้าปาล์มน้ำมันจะจำกัดอย่างมากเมื่ออุณหภูมิต่ำว่า 15 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 20 องศาเซลเซียส กล้าปาล์มจะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 25 องศาเซลเซียส
ความสูงจากระดับน้ำทะเล :
มีผลกับอุณหภูมิเช่นเดียวกัน (อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส เมื่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตร) มีรายงานว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในบริเวณพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 500 เมตร จะให้ผลผลิตช้ากว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ต่ำถึง 1 ปี
ลม :
ลำต้นของปาล์มน้ำมันไม่แข็งแรง (ซึ่งแตกต่างกับมะพร้าว) จึงไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีลมแรง หรือ แนวพายุ ความเร็วลมที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 0-10 เมตร/วินาที และการที่มีลมพัดช้าๆ จะช่วยลดอุณหภูมิในช่วงเที่ยงวันได้ด้วย รากของปาล์มน้ำมันเป็นรากฝอย ทำให้ไม่ทนทานต่อกระแสลมที่พัดแรง ประกอบกับปาล์มน้ำมันมีทรงพุ่มใหญ่ทำให้ล้มได้ง่าย โดยเฉพาะการปลูกในพื้นที่พรุ นอกจากนั้นในพื้นที่ซึ่งมีลมแรงจะทำให้ใบปาล์มน้ำมันฉีกขาดหรือทางใบหัก เป็นผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง ในสภาพพื้นที่ซึ่งมีลมพัดโชยอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีแดดจัดจะช่วยเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีการหายใจได้ดีขึ้น และเป็นการช่วยระบายความร้อนแก่ใบปาล์มด้วย
ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันจัดอยู่ในพืชตระกูลปาล์ม ตระกูลย่อยเดียวกับมะพร้าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ผสมข้าม (ใช้เกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นตัวเอง) ปาล์มน้ำมันเป็นพืชสมบูรณ์เพศ คือ มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียบนต้นเดียวกัน (แยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน) การผสมเปิดจะได้ต้นปาล์มน้ำมันรุ่นลูกที่แตกต่างจากต้นแม่เดิม จึงไม่แนะนำให้เก็บเมล็ดจากใต้ต้นไปขยายพันธุ์ ถ้าปลูกปาล์มน้ำมันจากเมล็ดที่หล่นใต้ต้นหรือนำมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ จะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง
ต้นปาล์มน้ำมันจะไม่มีปาล์มต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ ต้นตัวผู้ที่เกษตรกรเข้าใจ คือ ต้นที่ผิดปกติซึ่งจะออกดอกตัวผู้มากกว่าปกติ (แต่ยังมีดอกตัวเมีย) ดังนั้นจึงเป็นต้นตัวผู้ไม่ได้
การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม
cr. photo:Figure 11.3. The Shell gene is responsible for the oil palm’s three known shell forms: dura (thick); pisifera (shell-less); and tenera (thin), a hybrid of dura and pisifera palms [56]. Tenera palms contain one mutant and one normal version, or allele, of Shell, an optimum combination that results in 30% more oil per land area than dura palms [57].
ดูรา (DURA) :
กะลาหนา 2-8 มม. ไม่มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกบาง ประมาณ 35-60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล มียีนส์ควบคุมเป็นลักษณะเด่น ปาล์มชนิดนี้ใช้เป็นแม่พันธุ์
ฟิสิเฟอร่า (PISIFERA) :
ยีนส์ควบคุมลักษณะผลแบบนี้เป็นลักษณะด้อย ลักษณะผลไม่มีกะลาหรือมีกะลาบาง ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ทำให้ผลฝ่อลีบ ทะลายเล็กเนื่องจากผลไม่พัฒนา ผลผลิตทะลายต่ำมาก ไม่ใช้ปลูกเป็นการค้าแต่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตลูกผสม เนื่องจากมีจำนวนดอกตัวเมียมาก
เทเนอร่า (TENERA) :
มีกะลาบาง ตั้งแต่ 0.5-4 มม. มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกมาก 60-90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ลักษณะเทเนอร่าเป็นพันธุ์ทาง เกิดจากการผสมข้ามระหว่างต้นแม่ดูราและต้นต่อฟิสิเฟอร่า